แนะนำวิธีการเดินสายไฟฟ้าที่ปลอดภัยภายในบ้านพักอาศัย
การบำรุงรักษาการเดินสายไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย
วิธีหลีกเลี่ยงการถูกไฟฟ้าดูด
วิธีหลีกเลี่ยงอันครายจากไฟฟ้า
ก่อนลงมือทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า แม้จะเป็นเรื่องง่ายดายหรือธรรมดาเพียงใด เช่นการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า ท่านจะต้องปิดสวิตซ์ไฟฟ้าที่จุดนั้นก่อนเสมอ งานเดินสายไฟฟ้าต้องกระทำโดยช่างไฟฟ้าติดตั้งที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (เดินสายไฟต้องใช้ช่างไฟที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น)
ข้อควรระมัดระวัง
โปรดแจ้งให้ผู้อื่นทราบว่าท่านกำลัวซ่อมบำรุงสายไฟฟ้า เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นใช้ไฟฟ้าในขณะที่ทำการซ่อมบำรุง หรืออาจเขียนโน๊ตติดไว้ที่ตู้ไฟฟ้าหรือสวิตซ์ เพื่อแจ้งว่าคุณกำลังดำเนินการซ่อมบำรุงเกี่ยวกับระบบสายไฟฟ้าอยู่ในขณะนั้น
วิธีการหลีกเลี่ยงการถูกไฟฟ้าดูด
การซ่อมแซมและบำรุงรักษาต้องกระทำดดยบุคคลที่มีคุณวุฒิและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเท่านั้น
แม้การเปลี่ยหลอดไฟจะดูเป็นงานง่ายๆ โปรดปิดสวิตซ์เพื่อตัดไฟที่แผสวิตซ์หลักก่อนเสมอ (ตัดคัทเอาท์ที่แผงวงจร หรือ เมนบอร์ด หรือ ตู้สวิทช์บอร์ดก่อนเสมอ)
หมั่นดูและให้การเดินสายไฟฟ้าอยู่ในสภาพดีเสมอ
ใช้เฉพาะส่วนประกอบที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเท่านั้น ใช้สวิทซ์ไฟ ปลั๊กไฟ ที่ได้รับมาตรฐานและเป็นของแท้เท่านั้น
สังเกตุได้จาก สัญลักษณ์ มอก. บนอุปกรณ์นั้นๆ
เต้ารับไฟฟ้าเป็นจุดที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงต้องใชข้เต้ารับที่มีคุณภาพดี และเป็นไปตามข้อกำหนดดังตอ่ไปนี้
- แยกแกนสัมฟัสบางส่วนเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมฟัสโดยมิได้ตั้งใจ
- แกนสัมฟัสสายดินถอดออกไม่ได้
- ต้องมีสายรัดที่ทำให้สายเคเบิล สายไฟฟ้า กระชับไม่เลื่อนหลุด
- ใช้เต้ารับไฟที่มีช่องป้องกัน (เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ที่ปลั๊กไฟ)
วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากไฟฟ้า
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว ซึ่งจะทำงานทันทีเมื่อมีไฟฟ้ารั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้า
- ควรตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังจากที่มีการตก กระแทก หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว
- ควรใช้ปลั๊กสามตาหรือปลั๊กต่อพ่วงที่ได้รับมาตรฐานและผ่านการรับรอง มอก. เท่านั้น ควรถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน แต่ในการณีต้องใช้งานตลอดเวลา ควรเพิ่มจุดปลั๊กไฟถาวรทีีผนังดีกว่า การต่อปลั๊กพ่วงควรใช้สายไฟที่มีขนาดมาตรฐาน ที่ไม่เล็กจนเกินไป และควรใช้ปลั๊กต่อพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟไม่สูงมากจนเกินไป ไมมควรใช้ปลั๊กต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่กินไฟสูง หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องเกินกว่าที่สายไฟของปลั๊กพ่วงจะรับได้ เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ปลั๊กพ่วงที่มีฟิวส์ตัดไฟในตัว FUSE
- ไม่ควร / อย่า ต่อพ่วงปลั๊กไฟมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสะสมสูง และเกิดอันตรายจากการสัมผัสได้
- เมื่อท่านต้องการถอดปลั๊ก ห้ามถึงเฉพาะสายไฟ โปรดจับที่ตัวปลั๊กแล้วดงออกจากเต้ารับบ เพราะอาจทำให้สายไฟเสียหายและฉนวนฉีกขาดได้
- ไม่ควรเอาขาสำหรับสายดินออกจากปลั๊กไฟ หรือ อุปกรณ์
- กรุณาอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในอ่างอาบน้ำ อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- หลีกเลี่ยง มิให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยูระหว่างการใช้งาน หรือยังเสียบปลั๊กอยู่ตกหล่นลงในน้ำ
- อย่าซ่อมแซม หรือ ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่อุปกรณ์นั้นยังเสียบปลั๊กอยู่
- หลีกเลียงไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่พื้นเปียก
- หากต้องมีการม้วนสายไฟรอบๆเตารีด กรุณารอจนกว่าเตารีดจะเย็น ความร้อนจะทำให้สายไฟละลาย ในระยะยาวอาจทำให้สายตะกั่วด้านในโผล่ออกจากฉนวนได้
ผลกระทบของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อมนุษย์
่โดยปกติแล้วไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าจนครบวงจร ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้า ก็จะทำให้ร่างกายของเราเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ เกิดอันตราย บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิตได้
ผลกระทบเหล่านั้นอาจรุนแรงแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ
- ความเข้มของกระแสไฟฟ้า หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าไหลเวียนไปตามร่างกาย
- ระยะเวลาที่สัมผัส หมายถึง ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าสัมผัสร่างกายว่ายาวนานแค่ไหน
- ความต้านทานของร่างกาย หมายถึง โลหะไม่มีความต้านทานหลักต่อการเตินทางของกระแสไฟฟ้า แต่โลหะมีฉนวนหุ้มจะมีการปิดกั้นเส้นทางของกระแสไฟฟ้า ด้วยหลัการเดียวกัน ร่างการมนุษย์ก็มีความต้านทานกระแสไฟฟ้าในระดับหนึ่ง เมื่อร่างการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง ในสถานการณ์ที่ค่างกัน จะส่งผลกระทมบต่อร่างการแตกต่างกันด้วย เช่น หากร่างการเปียกโชกในขณะที่สัมผัสกระแสไฟฟ้า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายก็ถือว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
โปรดจำไว้เสมอว่า ร่างกายของเด็กมีความต้านทานต่อการถูกไฟฟ้าดูดต่ำกว่าร่างกายของผู้ใหญ่
ความเสี่ยงที่อาจพบได้ในกรณ๊ของการเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง เมื่อมีการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าอาจทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ และกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกก อาจสูญเสียการควบคุมอวัยวะแขนขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหนผ่านและจุดที่กระแสไฟฟ้าสัมผัสกับร่างกาย
- หัวใจห้องล่างเดินผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจจะเต้นผิดจังหวะและสับสน ส่งผลร้ายต่อการไหลเวียนของกระแสเลือดและอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
- เสียชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจน หากกระแสไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อประสามส่วนกลางที่ควบคุมระบบหายใจ ทำให้ระบบหายใจหยุดทำงานทันที
- การเกิดผลไหม้จากภายในและภายนอก การเดินทางของกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนซึ่งอาจก่อให้เกิดรอยไหม้ที่ภายนอกตรงจุดที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า หรือเกิดรอยไหม้ภายในตามอวัยวะต่างๆ ที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
- อาการบาดเจ็บร้ายแรง การสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อหรือควบคุมสติกาจทำให้ล้มลง ส่งผลต่อสภาพร่างการและสติสัมปชัญญะ
|