ท่อสาย
ในการเดินสายไฟฟ้านั้น ถึงแม้ว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้า จะมีความแข็งแรงทนทานพอสมควร แต่ว่าก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะทนต่อแรงกระแทกต่างๆ จากภายนอกได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันสายไฟฟ้าไม่ให้ได้รับความเสียหายและสามารถใช้งานได้ยาวนาน ในปัจจุบันจึงนิยมที่จะเดินสายไฟฟ้าในท่อเดินสาย หรือ RACEWAYS ท่อสายไฟจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อกลมหรือท่อช่องสี่เหลี่ยมผิวในเรียบ เหมาะแก่การเดินร้อยสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ
ประโยชน์ของการใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้ามีดังนี้
- ป้องกันสายไฟฟ้าจากความเสียหายทางกายภาพ เช่น การถูกกระทบกระแทกจากของมีคม หรือถูกสารเคมีต่างๆ
- ป้องกันอันตรายกับคนที่อาจจะไปแตะถูกสายไฟฟ้า เมื่อฉนวนสายไฟฟ้าเสียหาย หรือมีการเสื่อสภาพ
- สะดวกต่อการร้อยสาย และ สะดวกต่อการเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่ เมื่อสายไฟฟ้าหมดอายุการใช้งาน
- ท่อสายที่เป็นโลหะ จะต้องมีการต่อลงดิน ดังนั้น จะเป็นการป้องกันไฟฟ้า ช็อตได้
- สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ เนื่องจากถ้าเกิดการลัดวงจรภายในท่อ ประกายไฟ หรือความร้อนจะถูกจำกัดอยู่ภายในท่อ
ท่อสายอาจจะทำมาจากวัสดุที่เป็นโลหะ เช่น ท่อร้อยเหล็ก ท่อร้อยอะลูมีเนียม หรือ พลาสติก
ชนิดของท่อร้อยสายไฟฟ้าที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีดังนี้
- ท่อโลหะหน้า หรือ Rigid Metal Conduit
- ท่อโลหะหนาปานกลาง หรือ Intermediate Metal Conduit (IMC)
- ท่อโลหะบาง หรือ Electrical Metalic Tubing (EMT)
- ท่อโลหะอ่อน หรือ Flexible Metal Conduit
- ท่ออโลหะแข็ง Rigid Nonmetallic Conduit
- รางเดินสายไฟ Wireways
- รางเดินสายประกอบ Auxiliary Gutters
ท่อร้อยสายไฟชนิดโลหะหนาพิเศษ ท่อ RMC/RSC
ท่อโลหะหนาพิเศษเป็นท่อที่มีความแข็งแรงที่สุด สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ท่อชนิดนี้ถ้าทำมาจากเหล็กกล้าเรียกว่า RSC Rigid Steel Conduit และส่วนใหญ่จะผ่านขบวนการชุบด้วยสังกะสี Hot Dip Galvanized ฮ็อตดิ๊ปกาวาไนซ์ สามารถช่วยป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
สถานที่ใช้งาน ท่อRSCสามารถใช้งานได้ทุกสถานที่ และสภาพอากาศ สามารถใช้ได้ทั้งงานภายนอกและภายในอาคาร สามารถนำท่อRSCฝังใต้ดินได้
ขนาดมาตรฐาน ความยาวท่อท่อนละ3เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมีตั้งแต่15-150mm
การติดตั้ง ในสถานที่เปียก ส่วนประกอบที่ใช้ยึดท่อ Bolt, Strap , Screw เป็นเป็นชนิดที่ทนต่อการผุกร่อนได้
ในที่ที่มีการผุกร่อน ควรหุ้มท่อด้วยคอนกรีตหนาอย่างน้อย2นิ้ว
การติดตั้งท่อในที่มีการผุกร่อน จะต้องใช้บุชชิ่ง เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าเสียหาย ๆ
ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit, IMC)
ท่อโลหะหนาปานกลาง หรือ IMC
มุมตัดโค้งของท่อระหว่างจุดดึงสาย รวมกันจะต้องไม่เกิน 360องศา (โดยดูตัวอย่างที่ถูกต้องได้ตามภาพแนบ)
การเดินท่อจะต้องมีการจับยึดที่มั่นคงแข็งแรงทุกระยะไม่เกิน 3.0meter (เมตร) และห่างจากกล่องไฟฟ้าหรือจุดต่อไฟไม่เกิน 0.9เมตร
|