ตู้ไฟMDB ตู้สวิทช์บอร์ด ตู้เมนไฟฟ้า ตู้คอนโทรล
Busduct, Main-Feeder, Sub-Feeder
ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้าราคาส่ง ขายสายไฟฟ้าราคาถูก สายไฟฟ้ายี่ห้อ ไทยยาซากิ บางกอกเคเบิ้ล ฟูเล่อร์ ไทยยูเนี่ยน สเป๊ก มอก. สายสัญญาณกล้องวงจรปิด สายแลนCAT5 CAT6 CAT5E สายโทรศัพท์
ทางร้านรับผลิตตุ้ไฟฟ้าระบบควบคุมต่างๆ ตู้ไฟฟ้าสวิทช์บอร์ด ตู้เมนระบบไฟฟ้า ตู้MDB ตู้ Main Distribution Board, ตู้คอนโทรลพาแนล ตู้ควบคุมระบบปั๊มน้ำ ตู้ควบคุมระบบเครื่องปรับอากาศ ตู้ควบคุมแรงดัน ตู้ควบคุมเครื่องจักร ตู้ไฟเปล่าสำหรับใส่อุปกรณ์มิเตอร์วัตต์อาวร์ ตู้เปล่าแทมโก้ ตู้เปล่าขนาดตามสั่ง
ทางร้านขายสายไฟฟ้ายี่ห้อ ไทยยาซากิ บางกอกเคเบิ้ล ฟูเล่อร์ ไทยยูเนี่ยน โดยมีสต๊อกสายไฟจำนวนมากพร้อมจัดส่งทั้งสายไฟทองแดง และ สายไฟอลูมีเนียม สายไฟTHW VAF VCT NYY VSF VFF CVV Ground THW-A สายทองแดงสำหรับทำสายล่อฟ้า สายทองแดงเปลือยก็มีขาย
Busduct, Main-feeder, Sub-Feeder
ตัวส่งพลังงานไฟฟ้าจากตู้MDB ไปยังโหลดหลักๆทั้งปวงของอาคาร โดยทั่วไปในแบบระบบไฟฟ้าที่เราได้รับมาจากโครงการในตอนแรกนั้น จะมีแต่แบบ Single Line Diagram ไม่มีแบบที่จะทำการติดตั้งหน้างานจริงๆ จึงมีความจำเป็นต้องรวบรวมจัดทำ Shop Drawing รายละเอียดการติดตั้งใหม่ให้ตรงตามสภาพความเป็นจริง การจัดทำ shop drawing ของ Main / Sub - Feeder ไม่ว่าจะใช้ busduct, wireway, cable ladder , conduit อะไรก็ตาม จะต้องจัดทำไปพร้อมๆ กัน โดยต้องวางแนวตั้งแต่ห้อง Electrical plant room จาก MDB ไปยังตำแหน่ง Sub-dristribution board, plaelboard, motor control centre, lift, fire pump, water pump ตามที่ได้ปรากฎใน Single Line การจัดทำต้องจัดเตรียมและดำเนินการพอสังเขปเพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ มีดังต่อไปนี้
ถ้าเป็น บัสดัก Busduct ต้องทราบขนาด Rating ของ busduct ว่า เป็นกี่ AMP เช่น 2,000A, 3o, 4W Full - Half Neutral with Ground Bar ด้วยหรือเปล่า เป็น busduct ทองแดง Copper หรือ อลูมีเนียม Aluminium เพื่อให้ทราบถึงขนาดความ กว้างยาว จำนวนท่อนตรง ฟิตติ้งทางโค้ง และ ออฟเซท จึงจัดเลือกวางแนวว่าจะผ่านบริเวณใดที่สะดวก ไม่ติดขัดต่อการทำงาน ต้องตรวจสอบกับแบบระบบอื่นๆ และแบบโครงสร้าง การติดตั้งให้ได้แนวระดับเดียวกันสามารถผ่านเข้าสู่ช่อง ชาร์ฟไฟฟ้าได้ Shaft ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้เตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว
ถ้าเป็นวายเวย์ เคเบิ้ลเทรย์ Wireway Cable Tray ก็จะต้องตรวจสอบหาแนวการติดตั้งในลักษณะคล้ายคลึงกับ บัสดัก โดยจัดเลือกการวางแนวตั้งแต่ต้นจนจบให้ผ่านในบริเวณที่ไม่มีอะไรกัดขวาง ตรวจวอบระดับในแนวนอนและดิ่งให้เรียบร้อย ซึ่งบางครังอาจจะวิ่งเข้า Electrical Shaft ชาร์ฟระบบไฟฟ้า หรือวิ่งเข้าแผง Sub-Distribution board เลยก็ได้
ถ้าเป็นท่อ คอนดูด Conduit ก็จะต้องตรวจสอบในลักษณะเช่นเดียวกับ วายเวย์ และ เคเบิ้ลเทรย์
ส่วนใหญ่ทั้งสามชนิดดังกล่าวบางครั้งจะต้องนำมาติดตั้งรวมอยู่ในแนวเดียวกัน จึงต้องทำการจัดระเบียบของการติดตั้งว่าจะลักตรวจสอบจุดที่รียงกันอย่างไร จัดวางอะไรเป็น เมน ฟีดเดอร์ Main feeder และ Sub Feeder ดังกลาวจะต่อเข้าก่อนหลัง ฟีดเดอร์ไหน จะต้องดึงโหบดก่อนก็ควรจะไว้ด้านนอกสุด แล้วเรียงลำดับไปตามโหลดที่จะต่อก่อนหลังเพื่อป้องกันไม่ใช้ฟีดเดอร์ ถ่ายช้ามไปข้ามมา ทำให้การทำงานราบรื่นและเป็นระบบนั่นเอง
แม้ในการเดิน electrical shaft เองก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นการตอเข้า Sub distribution board , panelboard แผงพาแนล หรือ แผงคอนโทรลย่อย ก็จะทำให้ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบจัดแนวให้มีระเบียบแบบแผนว่าจะวางแนวกันอย่างไร ฟีดเดอร์ไหนจะเรียงอยู่ก่อน หลัง ซึ่งจะต้องใช้ความสนใจอย่างจริงจัง โดยการจัดเขียน shop ออกมาให้ได้ Scale กับทุกส่วนของอาคารของวัสดุที่นำมาติดตั้งจึงจะมองภาพของจริงออกมาได้ |